1. การรับรองคำแปล
1.1 การรับรองคำแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่
(1) เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวคนต่างด้าว ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ฯลฯ
(2) เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญแสดงการหย่า ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หนังสือรับรอง (ความเป็นโสด) ที่เขตหรืออำเภอออกให้ ฯลฯ
หมายเหตุ ทะเบียนราษฎรและทะเบียนครอบครัวเป็นแบบฟอร์มมาตรฐานของทางราชการ ท่านสามารถแปลได้ด้วยตนเอง ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ www.mfa.go.th/web/804.php
(3) เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ รายชื่อผู้ถือหุ้น รายงาน การตรวจสอบบัญชี งบดุล ใบเสร็จการชำระภาษี ฯลฯ
(4) เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาฯลฯ ทั้งนี้ หากเป็นเอกสารที่ออกให้โดยสถาบันการศึกษาเอกชน ต้องผ่าน การรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน
(5) เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบอนุญาตจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ฯลฯ
การยื่นคำร้อง – กรอกคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) ต้นฉบับภาษาไทย พร้อมสำเนา 1 ชุด
(2) ต้นฉบับคำแปลภาษาอังกฤษ
(3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(4) หากยื่นเรื่องแทนเจ้าของเอกสาร ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ
ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
1.2 การรับรองคำแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้แก่
(1) เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ฯลฯ
(2) เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญแสดงการหย่า ทะเบียนหย่า หนังสือรับรองความเป็นโสด ฯลฯ
(3) เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้าใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ ฯลฯ
(4) เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตรและหนังสือรับรองจาก
สถาบันการศึกษา ฯลฯ
การยื่นคำร้อง – กรอกคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1)เอกสารที่ออกโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย (หากเป็นเอกสารที่ทำขึ้นในต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของประเทศที่ออกเอกสารนั้น และสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น หรือสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นในประเทศไทยก่อน)
(2) ต้นฉบับคำแปลภาษาไทย
(3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(4) หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างชาติ
(5) หากยื่นเรื่องแทนเจ้าของเอกสาร ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
1.3 การรับรองคำแปลเอกสารภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและเอกสารภาษาไทยเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาดัชท์ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน ฯลฯ ได้แก่
(1) เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ฯลฯ
(2) เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญแสดงการหย่า ทะเบียนหย่า หนังสือรับรอง ความเป็นโสด ฯลฯ
(3) เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้าใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ ฯลฯ
(4) เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร และหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา ฯลฯ
การยื่นคำร้อง – กรอกคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1)เอกสารที่ออกโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย (หากเป็นเอกสารที่ทำขึ้นในต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของประเทศที่ออกเอกสารนั้น และสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น หรือสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นในประเทศไทยก่อน)
(2) ต้นฉบับคำแปลภาษาไทย (เอกสารคำแปลจากภาษาอื่น ๆ เป็นภาษาไทยต้องเป็นคำแปลที่จัดทำโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลประเทศที่ออกเอกสารนั้นในประเทศไทย)
(3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(4) หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนา กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างชาติ
(5)หากยื่นเรื่องแทนเจ้าของเอกสารต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ
สำหรับเอกสารภาษาอารบิกคำแปลภาษาไทยเป็นภาษาอารบิกต้องแปลและรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ค่าธรรมเนียม
เอกสารทั่วไป ค่าธรรมเนียมฉบับละ 200 บาท (ใช้เวลา 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง)
เอกสารสัญญาหรือเอกสารทางศาล ค่าธรรมเนียม 200 บาทสำหรับเอกสารที่มีจำนวนคำไม่เกิน 100 คำ หากจำนวนคำเกิน 100 คำ ทุก ๆ 100 คำคิด 200 บาท และเศษของ 100 คำต่อไปคิด 200 บาท
2. การรับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร ได้แก่
2.1 เอกสารทางการค้า เช่น ใบกำกับราคาสินค้า (invoice) ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ฯลฯ ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ หรือ หอการค้าไทย หรือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก่อน
2.2 เอกสารทางการเงิน เช่น หนังสือรับรองการเงินที่ออกโดยธนาคารและลงนามโดยผู้มีอำนาจของธนาคารที่ออกเอกสารนั้น
2.3 หนังสือมอบอำนาจ (ในนามบริษัท) ผู้มอบอำนาจต้องเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามตามที่ระบุในหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ และต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
2.4 หนังสือมอบอำนาจ (ส่วนบุคคล) ผู้มอบอำนาจต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
2.5 หนังสือรับรองอื่น ๆ อาทิ หนังสือรับรองผลการวิเคราะห์สินค้า และหนังสือรับรองความประพฤติ ต้องเป็นเอกสารซึ่งออกหรือผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับใบตรวจโรคหรือใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อที่กองสัญชาติฯ กระทรวงการต่างประเทศ ต้องนำเอกสารดังกล่าวไปให้แพทยสภารับรองก่อน
การยื่นคำร้อง – กรอกคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) เอกสารที่ต้องการรับรอง
(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของเจ้าของเอกสาร
(3) หากเป็นเอกสารของบริษัทต้องมีหนังสือรับรองบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้และมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
(4) หากยื่นเรื่องแทนเจ้าของเอกสาร ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 200 บาท (ใช้เวลา 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง)
3. การรับรองสำเนาเอกสารที่หน่วยงานราชการไทยออกให้ ได้แก่
3.1 เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ฯลฯ
3.2 เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญแสดง การหย่า ทะเบียนหย่า หนังสือรับรองความเป็นโสด ฯลฯ
3.3 เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ ฯลฯ
3.4 เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร และหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา ฯลฯ
การยื่นคำร้อง – กรอกคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) ต้นฉบับเอกสารที่ต้องการรับรอง พร้อมสำเนา 1 ชุด
(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(3) หากยื่นเรื่องแทนเจ้าของเอกสาร ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 200 บาท (ใช้เวลา 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง)
การรับรองนิติกรณ์เอกสาร
บริการคิวด่วน 08.30 - 9.30 น.
บริการคิวปกติ 08.30 - 15.30 น.
ขั้นตอนการยื่นรับรองนิติกรณ์เอกสาร
1. กดรับบัตรคิว