ขั้นตอนในการรับรองเอกสารที่ออกในสหรัฐอเมริกาเพื่อนำไปใช้ในประเทศไทย


ขั้นตอนในการรับรองเอกสารที่ออกในสหรัฐอเมริกาเพื่อนำไปใช้ในประเทศไทย

For English Please Check Out here>> http://www.chiangmai.go.th/mfa/legalization5.html

ขั้นตอนที่ 1: ขอรับเอกสาร
หากท่านยังไม่มีเอกสาร เช่น สูติบัตรหรือทะเบียนสมรสให้ติดต่อขอเอกสารจากหน่วยงานที่ออกเอกสารต้นฉบับในประเทศสหรัฐอเมริกา บางกรณี ท่านอาจต้องขอรับสำเนาเอกสารที่ประทับตรารับรองใหม่ล่าสุดเพื่อวัตถุประสงค์ ในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง แม้ว่าท่านมีสำเนาเอกสารนั้นแล้วก็ตาม โปรดตรวจสอบกับหน่วยงานของมลรัฐของท่าน

ขั้นตอนที่ 2: ติดต่อหน่วยงานรับรองเอกสารของมลรัฐ
โดยที่ขั้นตอนการรับรองเอกสารของแต่ละมลรัฐมีความแตกต่างกัน จึงขอแนะนำให้ผู้ประสงค์จะยื่นคำขอให้รับรองเอกสารติดต่อขอรับทราบข้อมูล เพิ่มเติมจากหน่วยงานรับรองเอกสารของมลรัฐของตน ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีอำนาจรับรองเอกสารของแต่ละมลรัฐได้ที่ http://www.nass.org/ Homepage > NPA Section Tab > State Websites Tab > choose a state to get the state Notary Public website

ขั้นตอนที่ 3: ให้ Notary Public รับรองเอกสาร หากจำเป็น
เอกสารบางประเภทอาจจำเป็นต้องได้รับการรับรองจาก Notary Public ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดการรับรองเอกสารของแต่ละมลรัฐ ทั้งนี้ Secretary of State Offices ส่วนใหญ่ระบุรายชื่อ Notary Public ในมลรัฐ ในเว็บไซต์ของแต่ละมลรัฐ http://www.firstgov.gov/Homepage > A-Z Agency Index > S > State Agencies by Topic > State Government Home Pages.

ขั้นตอนที่ 4: ขอให้ Secretary of State ของมลรัฐลงชื่อและประทับตรารับรองเอกสาร
เอกสารต้องได้รับการลงชื่อและตราประทับรับรองโดย Secretary of State ของมลรัฐที่ Notary Publicตั้งอยู่ ทั้งนี้ เพื่อรับรองสถานะปัจจุบันของ Notary Public สามารถขอทราบข้อมูลได้ที่ http://www.state.gov/ homepage > About State Department tab > Bureaus & Offices > Alphabetical List under Bureaus & Offices > Authentication Division > Authentication Requirements > Secretaries of State (Authentication Offices)

ขั้นตอนที่ 5: ขอให้กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ (U.S. Department of State) รับรองความถูกต้องของเอกสาร
ส่งเอกสารทั้งหมดไปยังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตามที่อยู่ดังต่อไปนี้ Department of State Documents Authentication Office 518 23rd Street N.W., SA-1, Columbia Plaza Washington, D.C. 20520 TEL: (202) 647-5002 หรือ 1-800-688-9889, FAX: (202) 663-3636 หรือสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศประจำแต่ละมลรัฐที่มีถิ่นพำนัก

ขั้นตอนที่ 6: ขอให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทย รับรองความถูกต้องของเอกสาร
เมื่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้รับรองเอกสารแล้ว หากผู้ร้องประสงค์จะนำเอกสารดังกล่าวไปใช้ในประเทศไทย ผู้ร้องต้องนำเอกสารไปยื่นขอให้สถานเอกอัครราชทูตหรือ สถานกงสุลไทยในสหรัฐฯ รับรองก่อน โดยผู้ร้องสามารถติดต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้

- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน 1024 Wisconsin Avenue N.W., Suite 401, Washington D.C. 20007-3681 Tel. (202) 944-3600; Fax (202) 944-3611 E-mail: thai.wsn@thaiembdc.org Website: http://www.thaiembdc.org/
- สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก700 North Rush Street, Chicago, Illinois 60611 Tel. (312) 664-3129; Fax. (312) 664-3230 E-mail: thaichicago@ameritech.net Website:http://www.thaichicago.net/

- สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส 611 North Larchmont Boulevard, 2nd Floor, Los Angeles, CA 90004 Tel. (1-323) 962-9574; Fax. (1-323) 962-2128 E-mail: thai-la@mindspring.com Website: http://www.thai-la.net

- สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก 351 East 52nd Street, New York, N.Y. 10022 Tel. (1-212) 754-1770, 754-2536 to 8, Fax. (1-212) 754-1907 E-mail: thainycg@aol.com Website: http://www.thaiconsulnewyork.com/

ขั้นตอนที่ 7: ขอให้กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศรับรองความถูกต้องของเอกสาร
เมื่อสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในสหรัฐฯ ได้รับรองเอกสารแล้ว ให้ผู้ร้องฯ นำเอกสารฯ ไปยื่นขอให้กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ รับรองความถูกต้องของเอกสารเป็นขั้นตอนสุดท้ายได้ ก่อนจะนำเอกสารดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทย

- กองสัญชาติและนิติกรณ์ ชั้น 3เลขที่ 123 อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210โทรศัพท์ (02) 575-1056-59 โทรสาร (02) 575-1054

- สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ชั่วคราวเชียงใหม่ อาคารอำนวยการกลาง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300โทรศัพท์ (053) 112-748-50 โทรสาร (053) 112-764

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น