การทำหนังสือเดินทางผู้เยาว์


ผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

1. บิดาและมารดาทั้งสองต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันรับคำร้อง

2. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง สภาพไม่ชำรุด ยังมีอายุการใช้งานและยังไม่ถูกยกเลิก หรือสูติบัตรฉบับจริง (กรณีอายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)

3. บัตรประจำตัวประชาชนบิดาและมารดาฉบับจริงสภาพไม่ชำรุดยังมีอายุการใช้งานและยังไม่ถูกยกเลิก
หากบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี)

4.หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี) เฉพาะกรณีหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่ยังมีอายุการใช้งาน
หรือใบแจ้งความกรณีหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่ยังมีอายุการใช้งานสูญหาย

กรณีพิเศษเกี่ยวกับผู้เยาว์(อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

1. กรณีบิดาหรือมารดา หรือทั้งสอง ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้

1.1 หากอยู่ในประเทศไทยให้บุคคลที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศจากอำเภอ สำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น
แนบบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง ของบิดาและ/หรือมารดา

1.2หากอยู่ต่างประเทศ ให้บุคคลที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศจากสถานเอกอัครราชทูตไทย สถานกงสุลใหญ่ไทย แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและหน้าหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของบิดาและ/หรือมารดา

1.3 เฉพาะกรณีผู้เยาว์อายุตํ่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ที่บิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอม
ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ให้ทำหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ
จากอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่บิดาหรือมารดาอยู่ในต่างประเทศให้ผู้อื่น (ที่บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)เป็นผู้พาผู้เยาว์มายื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางพร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของบิดาและมารดาถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาลงนามยินยอมได้ให้อีกฝ่ายทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์ไปต่างประเทศจากอำเภอสำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นพร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของบิดาและมารดา

2.กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดา
มารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียวพร้อมกับบันทึกคำให้การรับรองการปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของมารดา

3.กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า
บิดาหรือมารดาที่ระบุให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวในบันทึกการหย่า สามารถเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมได้ฝ่ายเดียวพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาหรือมารดาฉบับจริงแล้วแต่กรณี

4.กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับบุตรบุญธรรม

5. กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต
ให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตมาลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่งและบัตรประชาชนของบิดาหรือมารดาฉบับจริงแล้วแต่กรณี

6.กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง เช่น
ก) กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต
ข) กรณีบิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้
ค) กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาโดยตลอดและไม่สามารถติดต่อมารดาได้
ให้ผู้ปกครองที่มีชื่อระบุตามคำสั่งศาลเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับคำสั่งศาลฯและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มีอำนาจปกครองตามคำสั่งศาล

ข้อพึงระวัง 

กรุณาตรวจสอบตัวสะกดชื่อ – สกุล และเลขประจำตัวประชาชน13 หลักของบิดา มารดา ผู้ปกครองผู้เยาว์ ในสูติบัตร บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง ขอให้นำไปแก้ไขผ่านอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ก่อนมาดำเนินการยื่นขอทำหนังสือเดินทาง

เปิดบริการตามเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ 8.30 - 16.30 น.
ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ 40 บาท
รอรับเล่ม 5 วันทำการไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
     

Required Documents for E-Passport Application - Minors (Under 20 Years Old) 

- Thai Birth Certificate or Thai National ID card

- Both parents of the minor needs to must sign, in person, to give consent for their minor to travel overseas and to take full liability for their minor, with Thai National ID Cards of both parents produced (in case of a foreign parent, passport is required).

- In case any or both parents cannot be present, (a) Letter(s) of Consent, certified by the Royal Thai Embassy, Thai Consulate-General, or any District Office (together with copies of parents’ Thai ID cards), will be required.

- Where neither of the parents of a minor under 15 years old cannot be present during the passport application process, either parent can authorize, in a form of the power of attorney certified by the Royal Thai Embassy, Thai Consulate-General, or any District Office, another person (an adult over 20 years old) to accompany the minor. Thai National ID of the authorized person is required.

- In other circumstances

1) Unmarried parents, the mother alone can give consent provided that “Por Kor” 14, which indicates the applicant’s custodian is produced, along with the mother’s Thai National ID card

2) In case of divorce, father or mother alone, whichever party is received sole custody of the applicant according to the divorce document, can give consent, together with the Thai National ID card produced

3) In case of adoption, the adopter can give consent, together with the Adoption Registration and Thai National ID Card of the adopter produced

4) In case either parent passed away, the other parent can give consent, together with the Thai National ID Card of the other parent and the Death Certificate

5) In other cases, the court order which indicates the person granted sole custody of the applicant must be produced, e.g. where both parents passed away. 

- Other relevant documents, e.g. Certificate of Name Change (if applicable, and some of the documents do not contain the name which corresponds to the current name).

- Documents in the language other than Thai need to be certified in accordance with the Ministry of Foreign Affairs’ Regulations of B.E. 2539

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น