งานคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ


สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำส่งคำร้องไปยังกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ร้องที่ไม่สามารถเดินทางไปติดต่อกองคุ้มครองฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้โดยตรง

งานของกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
เป้าหมาย “ส่งเสริม รักษา ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ”

ภารกิจหลัก
-ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ทั่วไปในต่างประเทศ
- ช่วยเหลือคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ
-ช่วยเหลือเรือประมงและลูกเรือไทยที่ถูกจับในต่างประเทศ
-ช่วยเหลือคนไทยโดยเฉพาะเด็กและหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
-ช่วยเหลือคนไทยกรณีเกิดสงคราม ภัยทางการเมืองและภัยธรรมชาติ
- งานดูแลนักเรียนทุนรัฐบาลข้าราชการที่ฝึกงาน

1. การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ทั่วไป
- ส่งตัวคนไทยที่ประสบปัญหาต่างๆ เช่น เจ็บป่วยไม่มีเงินเดินทางกลับประเทศไทย กลับประเทศไทย
- ติดตามหาญาติที่สูญหายหรือขาดการติดต่อ
- จัดการศพคนไทยที่เสียชีวิตในต่างประเทศ
- ติดตามทรัพย์สินที่สูญหาย
- ดูแลคนไทยที่ถูกจำคุกในต่างประเทศ

2. การช่วยเหลือคุ้มครองแรงงานไทย 
2.1 กรณีเดินทางไปทำงานอย่างถูกกฎหมาย
-ตรวจสอบสภาพการจ้างงาน สัญญาจ้างโดยเฉพาะในประเทศที่ไม่มีสำนักงานแรงงานตั้งอยู่หรือได้รับการร้องขอจากกระทรวงแรงงาน
-ดูแล เยี่ยมเยียน สภาพชีวิต ความเป็นอยู่และสภาพการทำงานของแรงงานไทย
-เจรจากับนายจ้างและติดตามเรียกร้องเงินและสิทธิประโยชน์อันพึงได้ให้กับแรงงานไทย
-ประสานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องภายในประเทศนั้นๆ ให้นายจ้างให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน
-จัดส่งแรงงานไทยที่ตกทุกข์ได้ยาก กลับประเทศไทย

2.2 กรณีเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย
- ประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ปล่อยตัวแรงงานไทยที่ถูกจับกุมและส่งตัวแรงงานไทยกลับประเทศไทย
- ประสานหน่วยงานภายในประเทศ เพื่อดำเนินการเอาผิดกับนายหน้าที่หลอกลวงแรงงานไทย
- ติดตามเงินและสิทธิประโยชน์พึงได้ให้แก่แรงงาน

3. การช่วยเหลือเรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับ
- ประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปล่อยตัวลูกเรือและปล่อยเรือประมง
- จัดหาที่พัก อาหาร ฯลฯ ระหว่างรอส่งตัวกลับ
- ส่งตัวลูกเรือกลับประเทศไทย
- ประชาสัมพันธ์ป้องกันการทำประมงในน่านน้ำต่างชาติ อย่างผิดกฎหมาย
- ประชาสัมพันธ์กฎ ระเบียบการทำประมงในน่านน้ำต่างชาติ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านของไทย

4. การช่วยเหลือเด็กและหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ
- ช่วยเหลือจากสถานที่กักขัง/สถานบริการ โดยการประสานกับ สอท. / สกญ. ที่เกี่ยวข้อง
- จัดหาที่พัก อาหาร เยียวยาเบื้องต้น ฯลฯ ระหว่างรอส่งตัวกลับ
- สอบสวนให้ได้มาซึ่งข้อมูล หลักฐาน เพื่อเอาผิดกับขบวนการค้ามนุษย์
- เจรจากับทางการท้องถิ่นเพื่อยกเว้นข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย
- ส่งตัวกลับประเทศไทย
- ประสานหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขจัดขบวนการค้ามนุษย์และกรมพัฒนาสังคมฯ เพื่อส่งตัวกลับภูมิลำเนาและจัดฝึกอาชีพให้เหยื่อสามารถดำเนินชีวิตในสังคมอย่างปกติต่อไป

5. การช่วยเหลือคนไทยกรณีเกิดสงคราม ความรุนแรงทางการเมืองและภัยธรรมชาติ
- ประสาน สอท. / สกญ. ในการจัดทำแผนอพยพคนไทยในกรณีฉุกเฉิน
- เตือนภัยและแจ้งสถานการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ให้คนไทยในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบ พร้อมคำแนะนำ
- ดำเนินการอพยพ หากสถานการณ์เลวร้ายหรือรุนแรงโดย จัดให้อพยพคนไทยไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรือกลับประเทศไทย อาทิ การอพยพนักเรียน/นักศึกษาจากอียิปต์ ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2554 และ การอพยพแรงงานไทยออกจากลิเบีย ที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้

6. งานดูแลนักเรียนทุนรัฐบาลและข้าราชการที่ฝึกงาน
- หาสถานศึกษา / ตรวจสอบสถานศึกษา
- ตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษา
- ขยายระยะเวลาการศึกษาต่อ
- ออกหนังสือรับรอง No Objection
- แจ้งผลการศึกษา
- รายงานการลาหรือเดินทางกลับประเทศไทย

การแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ
1. ทางโทรศัพท์ / จดหมาย
- แจ้งผ่านญาติที่ประเทศไทย
- แจ้ง สถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ โดยตรง
- แจ้งกองคุ้มครองฯโดยตรง
2. แจ้งผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียน ร้องทุกข์ ในประเทศไทย
3. แจ้งผ่านหน่วยราชการต่าง ๆ ของไทยในต่างประเทศ
ติดต่อกองคุ้มครอง คลิก

ข้อมูล
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารกรมการกงสุล เลขที่ 123 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

การเดินทาง
รถประจำทาง สาย 52 บางซื่อ - ประชาชื่น - หลักสี่ - กรมการกงสุล - ปากเกร็ด
สาย 150 บางกะปี - รามอินทรา - หลักสี่ - กรมการกงสุล - ปากเกร็ด
สาย 356 รังสิต - สะพานใหม่ - หลักสี่ - กรมการกงสุล - ปากเกร็ด

ติดต่อทางโทรศัพท์
โทร. 0-2575-1047 ถึง 51 (สายตรง)
โทร. 02-203-5000 (ต่อหมายเลขภายใน)
โทรสาร. 0-2575-1052
E-mail : consular02@mfa.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น